top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนtheremedyphuket

YEMENIA

เมื่อราว 600 ปีก่อน ด้วยใกล้ชิดในมิติของสภาพภูมิประเทศที่มีเพียง "ทะเลแดง" เป็นเส้นกั้นเขตแดน เมล็ดพันธุ์กาแฟจากกาฬทวีปได้ถูกลำเลียงข้ามผืนน้ำสีคราม เข้าสู่ดินแดนตอนใต้คาบสมุทรอาหรับ จาก "กาแฟป่า" ในเอธิโอเปียกลายเป็น "กาแฟพาณิชย์" ในเยเมน มีพ่อค้าชาวโซมาเลียเดินทางเข้าไปในเอธิโอเปียเพื่อลำเลียงเมล็ดกาแฟออกมาค้าขายยังเยเมน ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้ากาแฟของโลกในช่วงนั้น

คนท้องถิ่นเยเมนจึงลองนำเมล็ดพันธุ์กาแฟมาปลูกเป็นพืชไร่เพื่อขายเอง จุดที่ปลูกเป็นแห่งแรกๆอยู่ทางซีกตะวันตกที่ห่างจากฝั่งทะเลไม่มากนัก ซึ่งบริเวณนี้แม้เป็นเทือกเขาสูง แต่ผืนดินก็เอื้ออำนวยให้พอที่จะเพาะปลูกพืชได้ ต้นกาแฟจึงเติบโตบนภูเขาและที่ลาดเชิงเขาเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ด้านตะวันออกของประเทศส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย

บริเวณด้านตะวันตกของเยเมนในอดีตนั้น ชาวโรมัน เรียกขานว่า "Arabia Felix" หรือ "อาหรับหรรษา" หมายถึงดินแดนที่มีสีเขียวมากกว่าพื้นที่อื่นใดในคาบสมุทรอาระเบีย มีฝนตกมากกว่า ดินดีกว่า มีแม่น้ำไหลผ่าน... คำเรียกขานนี้้้เอง เป็นที่มาของชื่อที่ถูกใช้กันแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ "Coffee Arabica" แม้จะเป็น "โซนสีเขียว" แต่ก็เป็นสีเขียวในความแห้งแล้ง มีฝนก็จริง แต่ก็ทิ้งช่วงห่างมาก ทำให้มีสีเขียวชอุ่มเพียงชั่วคราว จึงเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำตามมา ปัจจุบันชาวไร่ต้องใช้วิธีรดน้ำที่รากต้นกาแฟเพื่อช่วยให้อยู่รอดจนกว่าฝนจะตกลงมาอีกครั้ง ทั้งต้องพึ่งพาระบบชลประทานภูเขา ต่อเติมลำรางหินธรรมชาติ ลำเลียงน้ำจากบ่อบาดาลมาใช้ยามแล้งฝน


Growing Regions -Bani Mater, Bani Hammad, Bura’a, Haraaz, Haimateen




ทั้งปลูกขายเองและนำกาแฟจากเอธิโอเปียมาขาย ส่งผลให้รายได้ของเยเมนในตอนนั้นมาจากกาแฟล้วนๆ การค้าขายดำเนินการผ่านทางท่าเรือ "Mocha" (ม็อคค่า) หรือที่ภาษาอาราบิก ใช้ชื่อว่า "Al-Makha" เมืองท่าบนชายฝั่งทะเลแดงของเยเมน ถือเป็นศูนย์กลางส่งออกกาแฟที่สำคัญ ในช่วงศตวรรษที่ 15 - 18 จากนั้น กาแฟก็เดินทางต่อไปถึงนครเมกกะ , แอฟริกาเหนือ ,เปอร์เซีย และตอนบนของคาบสมุทรอาระเบีย ต่อมา ในช่วงกลางศตวรรษที่ 16 ก็ข้ามทะเลไปตุรกี เข้าไปยังอิตาลี ออกสู่ยุโรป และส่วนต่างๆของโลก

ในโลกอาหรับนั้น มีการเรียกกาแฟกันว่า "Qahwah" (คาห์วาห์) ซึ่งเป็นคำในภาษาอารบิก เดิมหมายถึงไวน์ แต่ไวน์เป็นเครื่องดื่มต้องห้ามในศาสนา กาแฟจึงได้ชื่อว่า "ไวน์แห่งอาหรับ" มานับจากบัดนั้น ส่วนเมล็ดกาแฟทุกสายพันธุ์ที่ส่งออกจากท่าเรือม็อคค่าในยุคนั้น จะเรียกติดปากว่า "Mocha Coffee" ด้วยชื่อเสียงที่คุ้นหู จึงมีการนำไปตั้งเป็นชื่อเมนูกาแฟ "มอคค่า" หรือแม้แต่หม้อต้มกาแฟที่คิดค้นขึ้นในอิตาลีที่เรียกว่า "Moka Pot" ก็ตั้งตามชื่อท่าเรือโบราณนี้เช่นกัน อาจจะเป็นด้วยหลายสาเหตุปัจจัย ทั้งเป็นของแปลกใหม่ รสชาติ และประโยชน์ ผนวกกับถูกกำหนดให้เป็นสินค้าควบคุมในโลกอาหรับ มีการห้ามนำต้นและเมล็ดพันธุ์กาแฟออกนอกประเทศ ทำให้การค้ากาแฟผ่านทางท่าเรือม็อคค่าในเยเมนอยู่ในภาวะเฟื่องฟูสุดๆ ถือเป็นยุคทองของการส่งออกกาแฟในโลกอาหรับเลยก็ว่าได้ ผลที่ติดตามมาก็คือ พื้นที่ปลูกกาแฟในเยเมนได้เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงศตวรรษที่ 17 และ 18


As global demand for coffee exploded, colonial trading companies such as the Dutch, French and British East India Companies began smuggling beans out of Yemen and planting them in countries under colonial rule. Eventually they began producing and exporting their own coffee, typically under forced cultivation systems in which farmers were forced to produce and sell coffee at a price and volume dictated by the colonial trading company.

With sources of cheap coffee being made available and no quality-based differentiation from the market, Yemeni coffee could not compete and its market share began to rapidly shrink. Over just a few centuries, Yemen went from being the world’s only coffee exporting country to having a minuscule share of the market. By 1800, Yemen was producing just 6% of the world’s coffee. Today, it’s less than 0.1%.

As coffee prices remained low over the centuries that followed, Yemen’s coffee industry was neglected and relegated to a relic of the past. Today, coffee cultivation has all but disappeared. What has made matters worse is that Yemeni farmers can make far more money growing the narcotic plant ‘qat’ than they can coffee, and due to the country’s dire economic situation, many have reluctantly switched over.

While the eruption of the 2015 civil war adds another layer of adversity to Yemen’s history, the country’s future has never been so fragile.

เรื่องนี้ก็ไม่เล่าไม่ได้เหมือนกัน... เมื่อกาแฟกลายเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมสูงไปทั่วโลก โดยเฉพาะในยุโรป พวกที่จ้องตาเป็นมันก็คือ ชาติมหาอำนาจสมัยนั้นอย่าง อังกฤษ,ฝรั่งเศส, ดัตช์ และโปรตุเกส ที่ต่างก็ส่งกองเรือมาค้าขายยังท่าเรือม็อคค่า ส่วนใหญ่มุ่งหวังอยากได้เมล็ดพันธุ์กาแฟนำไปปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจยัง "อาณานิคม" ที่กระจายอยู่ทั่วโลก แต่เมื่อกาแฟยังคงเป็นสินค้าควบคุมในเยเมน ก็เลยเกิดกรณีการลักลอบนำเมล็ดพันธ์กาแฟออกไปโดยฝีมือคนของชาติมหาอำนาจเหล่านี้ จะเรียกว่าขโมย ก็คงไม่ผิดนัก หลังจากผูกขาดการค้ามานานถึง 200 ปี การส่งออกกาแฟจากท่าเรือม็อคค่าก็เข้าสู่ยุคซบเซา เมื่อถูกกาแฟจากแหล่งปลูกใหม่เอี่ยมทั้งใน "เอเชีย" และ"ละตินอเมริกา" เข้ามาตีตลาด ก็เป็นแหล่งปลูกใหม่ๆ ที่บรรดาชาติมหาอำนาจแอบนำเมล็ดพันธุ์จากเยเมนเข้าไปปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจนั่นแหละ กาแฟพวกนี้มีราคาถูกกว่า ทำให้กาแฟจากเยเมนไม่สามารถแข่งขันได้ เพียงไม่นาน ก็ต้องสูญเสีย "แชมป์ผูกขาด" การส่งออกกาแฟแต่เพียงผู้เดียว การซื้อขายโยกจากโลกอาหรับเข้าไปอยู่ในมือชาติมหาอำนาจยุโรป ท่าเรือม็อคค่าจึงกลายเป็นหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ตำนานกาแฟโลกไปจากบัดนั้น ในทศวรรษที่ 1800 เยเมนมีส่วนแบ่งเพียง 6 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณการผลิตกาแฟทั้งโลก แต่ปัจจุบันน้อยยิ่งกว่ามาก สัดส่วนมีไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ ด้วยซ้ำไป แล้วพื้นที่ปลูกก็ลดลงเหลือเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ประเทศ ด้วยข้อจำกัดหลักจากปัญหาการสู้รบในประเทศที่ดำเนินมาตั้งแต่ค.ศ. 2015 จนถึงปัจจุบัน การปลูกกาแฟในเยเมนไม่ได้ถูกยกระดับให้เป็นสินค้าโภคภัณฑ์เหมือนในประเทศอื่นๆ ในอดีตการส่งเสริมแทบไม่มี ทั้งในเรื่ององค์ความรู้ใหม่ๆ และการทำตลาด ประกอบกับพื้นที่แห้งแล้ง ผลผลิตจึงออกมาน้อยในแต่ละปี อย่างในปีค.ศ. 2015 มีปริมาณการผลิตราว 3,000 ตันเท่านั้น เทียบกับก่อนช่วงสงครามกลางเมืองที่มีตัวเลขสูงถึง 50,000 ตันต่อปี แม้ปัจจุุบัน ท่าเรือม็อคค่าได้กลายเป็นเพียงตำนานการค้ากาแฟไปแล้ว ทว่ากาแฟที่ปลูกในเยเมนมานานหลายร้อยปียังคงดำรงอยู่ ไม่ได้ถูกกลืนหายไปในหน้าประวัติศาสตร์ด้วย ล้วนแล้วแต่เป็นต้นกาแฟที่เติบโตบนภูเขาและที่ลาดเชิงเขาแบบขั้นบันได พื้นที่ปลูกเป็นเชิงชั้นลดหลั่นกันลงมา ในระดับความสูงตั้งแต่ 1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป เกษตรกรส่วนใหญ่ของที่นี่ยังคงเก็บเกี่ยวและแปรรูปกาแฟโดยยึดหลักแบบดั้งเดิม แทบไม่มีเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วย ทุกขั้นตอนล้วนทำจากมือ กระทั่งการตากผลกาแฟ ก็ใช้หลังคาบ้านให้เป็นประโยชน์ ครั้งหนึ่ง...ราคากาแฟเคยตกต่ำลงจนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า ”ใบคัต” อันเป็นพืชที่ให้สารกระตุ้นซึ่งนิยมนำมาเคี้ยวกัน ส่งผลให้เกษตรกรจำนวนหนึ่งเลิกทำไร่กาแฟแล้วหันไปปลูกพืชอย่างอื่นที่มีราคาสูงกว่าแทน แต่ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เริ่มมีบริษัทจากต่างประเทศเข้าไปทำธุรกิจกาแฟในเยเมนแล้วก็ใช้เทคนิคใหม่ๆ ในการผลิตและการแปรรูป แล้วกาแฟจากเยเมนก็ตกเป็น "ข่าวใหญ่" อีกครั้งเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมานี้เอง เป็นข่าวคราวที่สั่นสะเทือนไปทั่ววงการกาแฟโลก หลังจากมีการประกาศค้นพบ "สายพันธุ์อาราบิก้าเก่าแก่ของโลก"


Qima Coffee บริษัทซื้อขายกาแฟ Yemen ที่ตั้งอยู่ในกรุงลอนดอนร่วมมือกับ Dr. Christophe Montagnon หัวหน้า Scientific Director ของ WCR และผู้ก่อตั้ง RD2 ทำการสำรวจสายพันธุ์ของกาแฟอราบิก้าใน Yemen โดยใช้เทคนิค DNA Fingerprint กับกาแฟทั้งหมด 137 ตัวอย่างแบ่งเป็นสามกลุ่มคือ

  1. สายพันธุ์พื้นถิ่นใน Ethiopia accessions

  2. สายพันธุ์ที่ปลูกทั่วโลก กลุ่ม Typica และ Bourbon

  3. สายพันธุ์ที่ปลูกใน Yemen โดย Qima Coffee

เมื่อเปรียบเทียบทั้งสามกลุ่มแล้ว พบว่ากาแฟในกลุ่มที่ 2 หรือสายพันธุ์ที่ถูกนำออกจาก Yemen ไปปลูกทั่วโลกยังพบได้ทั่วไปใน Yemen

แต่สิ่งที่น่าสนใจคือการค้นพบกลุ่มของสายพันธุ์ใหม่ที่พบเฉพาะใน Yemen เท่านั้น ซึ่งไม่พบในกลุ่มที่ 1 และ 2 ทาง Qima Coffee จึงได้ตั้งชื่อว่า Yemenia หรือที่แปลว่า The Yemeni Mother ในภาษาอราบิก

สิ่งที่น่าสนใจของกาแฟกลุ่มนี้คือรสชาติที่ดี จะเห็นได้จากประกวดที่ Qima Coffee ร่วมมือกับ Alliance for Coffee Excellence (ACE กลุ่มผู้จัดประกวด COE) โดยกาแฟที่เข้ารอบสุดท้าย 20 ตัวเป็นกาแฟที่อยู่ในกลุ่มของ Yemenia ทั้งหมด 15 ตัว; อันดับ 1, 2, 3 เป็นกลุ่มของสายพันธุ์ Yemenia เช่นกัน


Yemenia เป็นกลุ่มของสายพันธุ์กาแฟอราบิก้าใหม่ที่เพิ่งค้นพบโดยใช้เทคนิค DNA Finger Print ถ้าเปรียบเทียบให้ชัดเจนอาจจะคล้ายกับที่หลายท่านเรียกสายพันธุ์กาแฟจาก Ethiopia ว่าเป็น Heirloom ซึ่งไม่ได้ระบุเจาะจงสายพันธุ์ให้แน่ชัด

การค้นพบกลุ่มของสายพันธุ์ใหม่นี้ เป็นการค้นพบที่สำคัญอาจจะมีความสำคัญพอๆกับที่มีการค้นพบกาแฟสายพันธุ์ Gesha ในงาน Best of Panama ในปี 2004









กาแฟของ Qima

ภูเขา Haraaz Mountain


MICROLOT COLLECTION Single origin microlots sourced from Yemen’s finest coffee finest terroirs. CUPPING RANGE : 84 - 87.5


SPECIAL RESERVE COLLECTION


A selection of Yemen’s most exquisite community lots, carefully selected from amongst 55 communities. CUPPING RANGE FROM 87.5 TO 90


เยเมนเป็นประเทศที่มีความแตกต่างหลากหลายทางภูมิศาสตร์มาก ทำให้มีสภาพภูมิอากาศต่างกันมากมายเช่นกัน อุณหภูมิต่ำกว่าศูนย์องศาไปถึง 45 องศาเซลเซียส

Yemen is home to one of the world’s most diverse topographic profiles. With extreme desert plains in the east, large coastlines and coastal plains in the west and south, and vast volcanic mountain ranges reaching altitudes of 3,760m throughout the centre of the country, Yemen’s geography gives rise to a wide range of diverse climatic conditions, with temperatures ranging from subzero to over 45 °C (113°F). Yemeni coffee farmers follow cultivation practices that are centuries old and much of the country’s coffee cultivation can be found on the distinct hanging terraces across the country’s rugged mountain ranges.


กาแฟพิเศษในเยเมนปลูกที่พื้นที่สูงถึง 1800 เมตร สภาพอากาศทำให้ต้นกาแฟมีความเครียดอย่างมาก ทำให้กาแฟมีความเข้นข้นซับซ้อนของน้ำมันหอมระเหยของกลิ่นรส

Much of Yemen’s specialty coffee is grown in the highlands at altitudes that exceed 1,800 meters. Such challenging growing conditions result in stressed coffee beans that embody an unusually complex concentration of oils that have precious aromas and flavours.



กาแฟประเทศอื่นอาจจะมี Typical Flavour Profile แต่กับกาแฟเยเมนแล้วไม่สามารถระบุได้แน่ชัดด้วยสภาพภูมิอากาศ microclimate ที่มีความหลากหลายมาก กลิ่นรสของกาแฟเยเมนจึงมีความหลากหลายเช่นกัน


กาแฟคุณภาพของเยเมนมักมีแนวโน้มของรสชาติที่สว่างและมีความเป็นกรดที่ซับซ้อน กลิ่นดอกไม้ที่อ่อนโยน ผลไม้เชื่อม ซิตรัส เบอรีต่างๆ รวมถึงดาร์ก ชอคโกแลตและไวนนี่ จบแบบอ้อยอิ่งและงดงาม

มิติของกลิ่นและรสมักเด่นชัดหนักแน่น ในเรนจ์ที่กว้าง


Whilst many countries can be said to have a typical flavour profile, Yemen is much more difficult to pin down. Due to the microclimatic diversity, the genetic diversity, and the centuries old cultivation techniques, Yemen’s cup profiles are as diverse as the flavour wheel. The most exceptional coffees tend to express bright and complex acidity, with delicate notes of florals, candied fruit, citrus, berries, dark chocolate and a distinctive winey undertone with a lingering, heavenly finish. The profile displays excellent range and dimension and the fragrance and aromas are intensely exhilarating.

ดู 23 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Best of 2021

Yorumlar


bottom of page